- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 31 ส.ค.-6 ก.ย. 61
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(2) ด้านการตลาด มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,186 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,190 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,500 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,445 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,937 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,139 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,921 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 16 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,323 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 219 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,714 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,869 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 155 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,104 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,225 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 121 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5154
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.43 ล้านตัน มูลค่า 2.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการส่งออกข้าวประมาณ 500,000 ตัน มูลค่าประมาณ 236 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทางด้านกระทรวงเกษตร (The Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงานว่าในช่วง 8 เดือนแรก เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 4.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในเดือนสิงหาคมคาดว่า มีการส่งออกข้าวประมาณ 658,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ที่ระดับ 395-400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ติดต่อกัน
เป็น สัปดาห์ที่ 4 ท่ามกลางภาวะการค้าที่ชะลอลง ขณะที่วงการค้าคาดว่า ราคาข้าวมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (The summer-autumn crop) ใกล้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับมีกระแสข่าว
ที่ประเทศในแถบเอเชียกำลังมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น
ขณะที่มีรายงานว่า การเพาะปลูกในฤดูถัดไปคือฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว (the autumn-winter crop) ในเขต
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) กำลังประสบปัญหาจากการที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้ต้องเลื่อน
การเพาะปลูกออกไป
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ปากีสถาน
มีรายงานว่าในช่วงฤดูมรสุมของปีนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมถึงกลางเดือนกันยายน ปากีสถานได้รับ ปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 47 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวในปีนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในปีนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญของปากีสถานมีน้ำในระบบชลประทานไม่เพียงพอ
ต่อการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากฝนตกน้อยกว่าปกติส่งผลให้บางพื้นที่การเพาะปลูกเป็นไปอย่างล่าช้า และยังทำให้ เกษตรกรบางส่วนมีความกังวลว่าสภาพอากาศที่แห้งแล้งจะทำให้ต้นข้าวตายเพราะขาดน้ำ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
มาเลเซีย
รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมพื้นฐานเกษตร (the Agriculture and Agro-based Industry Minister) ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ตั้งเป้าที่จะพึ่งพาผลผลิตข้าวที่ผลิตได้ในประเทศให้ได้ถึงร้อยละ 80 ของความ ต้องการบริโภคภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่สามารถพึ่งพาผลผลิตข้าวในประเทศได้ประมาณร้อยละ 70 แล้ว โดย รัฐบาลได้วางแผนที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวโดยการเพิ่มสายพันธุ์ข้าวและปุ๋ยให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้นจากประเทศจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ามาเลเซียยังคงต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีอุปทานข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนยังคงนิยมบริโภคข้าวต่างประเทศ เช่น ข้าวบาสมาติเป็นต้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.41 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,796 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 271.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,791 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 5.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 366.53 เซนต์ (4,755 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 343.64 เซนต์ (4,442 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.66 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 313.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64 ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.44 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.39 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.09
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.15
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.66
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,576 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,390 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.19
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,095 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,883 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.02
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64 ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.18 ล้านตัน (ร้อยละ 4.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กรกฎาคม 2561) ปริมาณ 24.93 ล้านตัน (ร้อยละ 91.52 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.44 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.39 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.09
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.92 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.15
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.09 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.66
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,576 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,390 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.19
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,095 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,883 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.02
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.137
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.081 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.184 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 5.18 และร้อยละ 4.89 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.13 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.24 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.40
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 19.75 บาท ลดลงจาก กก.ละ 19.95 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน
แหล่งข่าวจากรอยเตอร์รายงานว่า เดือนสิงหาคม 2561 สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียอยู่ที่ 2.41 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ซึ่งสต็อกน้ำมันปาล์มดิบสูงสุดในรอบ 6 เดือน จึงส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,289 ริงกิตต่อตัน (552.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.4 ประกอบกับผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.65 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ 1.23 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการใช้ของประเทศผู้นำเข้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนกันยายนอัตราภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบร้อยละ 0
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,220.03 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,184.68 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.62
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 550.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.09
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 829.25 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 827.92 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 304.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.28 เซนต์ (20.53 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.20 เซนต์ (20.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 829.25 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 827.92 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 304.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.28 เซนต์ (20.53 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.20 เซนต์ (20.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.08
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 828.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 831.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 735.80 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 738.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 583.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 397.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 797.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.39 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.20 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.08
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 828.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 831.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 735.80 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 738.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 583.40 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 396.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 397.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 797.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.39 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.45 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.05 เซนต์
(กิโลกรัมละ 59.59 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 82.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 60.02 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.43 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.05 เซนต์
(กิโลกรัมละ 59.59 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 82.91 เซนต์ (กิโลกรัมละ 60.02 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.43 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,691 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,698 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,389 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,363 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,190 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,175 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.28
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,389 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,363 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,190 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,175 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.28
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกและเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้การซื้อขายไม่คล่องตัว อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.99 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 65 บาท ) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกและเกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้การซื้อขายไม่คล่องตัว อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 58.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.99 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 65 บาท ) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคใกล้เคียงกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.09 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.47 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ลดลงจากตัวละ 14.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคใกล้เคียงกับผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.09 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.47 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ลดลงจากตัวละ 14.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมามา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 289 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 328 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 325 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.24 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.54 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.06 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.06 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 6 กันยายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.25 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.58 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจาก กิโลกรัมละ 89.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.63 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 153.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.38 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.88 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.47 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.- 6 ก.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา